การเรียนภาษาเยอรมันสำหรับคนทั่วไปที่ไม่มีพื้นฐาน แน่นอนว่าต้องบอกว่ายากแสนยาก แม่จะมีตัวอักษรที่เหมือนกับภาษาอังกฤษ แต่การเขียน การอ่าน การสะกดคำ และความหมายย่อมแตกต่างกัน ทำให้คนที่สนใจจะต้องเรียนตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน การเรียนให้อ่านออก เขียนได้ หลายคนอยากรู้ว่าจะเรียนยังไง ให้เก่ง ซึ่งบางคนจริง ๆ แล้วก็ไม่ได้พูดเก่งมากมาย แต่ก็พอรู้พื้นฐาน หรือแค่พอเอาตัวรอดและเรียนจบให้ได้ สื่อสารเข้าใจ เรียนรู้คำศัพท์เท่านั้นเอง ศัพท์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือการใช้คำศัพท์กับสายงาน หากหมั่นใช้คำต่าง ๆ เหล่านี้ทุกวันแน่นอนว่าจะต้องเกิดความคุ้นชินขึ้นมา เพียงแต่รู้จักการวางหรือเรียงประโยค การใช้ไวยากรณ์ตามหลัก ที่แม้จะไม่เป๊ะๆ แต่ก็ต้องเรียนรู้ไว้บ้าง เพื่อที่จะได้ก้าวในขั้นที่สูงต่อไปได้
สำหรับสเต็ปการเรียนโดยทั่วไป ไม่เพียงแต่คนโตเท่านั้น หากแต่ยังมีเด็กเล็กๆ ที่อาจจะเป็นลูกครึ่ง โดยมีคุณพ่อเป็นชาวเยอรมัน ซึ่งหน้าที่จะต้องตกเป็นของคุณแม่ที่จะต้องสอนลูกน้อย ทั้งภาษาไทย ภาษาเยอรมัน และอาจจะรวมภาษาอังกฤษด้วย การจะสอนให้เด็กตัวน้อยพูดได้หลายภาษา ฟังแล้วน่าจะเป็นเรื่องที่ยากไม่น้อย และตัวเด็กเองจะสามารถเรียนรู้ภาษาที่สอง ที่สามได้อย่างไรนะ
ฝึกฟัง แล้วพูดตาม
เทคนิคที่หลายคนมักจะใช่ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ของการเรียนภาษาภาษาเยอรมัน หรือภาษาอื่น ๆ คือ การหัดฟังเสียง เพื่อจับใจความ หรือหัดฟังเสียงเพื่อพูดเลียนเสียงก่อน โดยที่อาจจะยังไม่ต้องรู้ความหมายก็ได้ ฟังเพื่อให้คำมันเข้าปาก ฟังแล้วหัดพูดตามให้กรามขยับ ให้คำมันกระทบเหงือก หรือให้สมองกระเทือนประเดี๋ยวมันจะค่อย ๆ ซึมซับเอง แล้วค่อยมาหาความหมายเพื่อจดจำ ที่สำคัญจะต้องหัดพูด ๆ ซ้ำ ๆ และหมั่นเขียนทุก ๆ วัน คุณไม่จำเป็นต้องมีพรสวรรค์มากมาย ขอมีเพียงพรแสวง และความตั้งใจก็จะสามารถพูดภาษาเยอรมันรวมทั้งภาษาต่างประเทศได้แล้ว การจะได้ภาษาใหม่ หากจะให้เป็นแบบธรรมชาติแบบเริ่มจากศูนย์ ที่เหมือนเด็กเล็ก ๆ และเอาไปใช้งานได้จริง สามารถเริ่มได้จาก การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน
อย่างการสอนลูก ๆ ที่คุณพ่อพูดภาษาเยอรมัน ส่วนคุณแม่พูดไทย ซึ่งเด็กน้อยจะใช้วิธีการฟังแล้วมองปากพ่อ แม่ แล้วเขาพูดตาม พูดซ้ำ ๆ ซ้ำแล้วก็ซ้ำอีก แต่กว่าจะได้แต่ละคำ หนึ่งเดือนอาจพูดได้ 2-3 คำ ด้วยสมองและการพัฒนาของเด็ก รวมทั้งความพร้อมของร่างกาย และประสบการณ์ ซึ่งเมื่อเด็กน้อยฝึกพูด ฝึกฟังบ่อย ๆ จะทำให้สามารถพูดและฟัง โต้ตอบได้ทั้งภาษาไทยหรือ ภาษาเยอรมันก็จะทำให้คล่องขึ้น ซึ่งบางคำพูดได้ แต่เขายังไม่รู้เลยว่าแปลว่าอะไร แต่ก็จะทำให้พูดออกมาชัดเจน ฝึกพูดบ่อย ๆ ก็จะทำให้เป็นประโยคได้
เชื่อมกับทักษะที่มี กับสิ่งที่ชอบ
บางคนถนัดฟังเสียง บางคนชอบดูหนัง ซึ่งแต่ละคนจะมีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่เหมือนกัน เพราะมีบางคนชอบอ่าน ชอบท่อง หากคุณสนใจแบบไหนก็ลองเลือกมาสักทักษะหนึ่งแล้วก็ทำอย่างสม่ำเสมอ เชื่อว่าอย่างไรก็ได้แน่นอน มีเทคนิคง่าย ๆ ที่หลายคนชอบทำในการศึกษาภาษาเยอรมันด้วยตัวเองคือ การใช้โพสต์อิท เขียนประโยคและคำอ่านแปะไว้ตามที่ต่างๆ ซึ่งเป็นที่ส่วนตัวอย่างในห้อง หรือกระเป๋า รถยนต์ หากคุณเดินไปถึงช่วงที่อยู่ตรงนั้น ก็ลองท่อง ลองอ่าน ลองพูด หรืออยู่ในห้องน้ำก็พูดคำศัพท์ บ่อย ๆ หัดท่องพวกอุปกรณ์ในห้องน้ำกิจกรรมในห้องน้ำ ทุกอย่างก็ว่าไป หากกำลังอยู่ในห้องครัว ลองท่องอุปกรณ์ในครัวหรือทำอาหารอย่างการ ผัด แกง ปิ้งขนมปัง ต้ม ฯลฯ แม้แต่อยู่ในรถ ก็ลองท่องกำลังเปิดปิดรถ สตาร์ทรถ ถอยรถ เรียกว่าทั้งหมดคือหาศัพท์เป็นภาษาเยอรมันก่อน จากนั้นแล้วจึงค่อยแปะโพสอิท แล้วท่องให้คล่องๆ ปาก ลองประยุกต์วิธีของตัวเองดู หรืออาจจะลองฟัง พูด แล้วท่องก่อน ต่อมาค่อยอ่าน และเขียน เป็นลำดับสุดท้าย เขียนนี่ยากสุดสำหรับใครหลายๆคน คนไทยไม่ใช่เรียนภาษาต่างประเทศไม่ได้เพราะไม่ฉลาด แต่เพราะจิตใต้สำนึก ที่มักจะคิดว่าภาษาเยอรมันหรือภาษา อังกฤษมันยาก พูดไม่ได้หรือมัวแต่กลัวฝรั่ง ซึ่งเป็นคำที่ถูกฝังอยู่ในหัว ทำให้เวลาที่เรียนภาษาอังกฤษไม่สามารถพัฒนา ทั้งๆ ภาษาไทยเรายากกว่ามาก แต่เรายังเรียนได้
เด็ก ๆ ที่หัดเรียน พูดอ่าน ท่อง และเขียน 2 ภาษา 3 ภาษา นั่นอาจเป็นเพราะเขาไม่รู้ว่ามันยากหรือไม่ และแม่ให้ท่อง ครูให้เรียน พ่อพูดภาษาเยอรมัน หรือแม่พูดภาษาไทย เมื่อเด็กอยากคุยกับพ่อกับแม่ให้ได้ ก็จะพยายามเลียนแบบ เลียนเสียง เลียนพฤติกรรมของพ่อแม่ ทำให้เรามองว่าเด็กเก่งนั่นเอง ระหว่างเด็กอนุบาลกับคนโต ๆ หากมีหนังสือมาให้ อ่าน หรือมีหนังให้ดู แล้วให้แข่งกันจำหรือแข่งกันท่อง ในเวลาสั้น ๆ เป็นคำตอบทีไม่ต้องคิดเลยล่ะว่าใครจะชนะ