การช่วยเหลือพ่อแม่ในเรื่องของการลองขอทุนต่าง ๆ สำหรับน้อง ๆ ที่เพิ่งเรียนจบ ม. 6 แล้วอยากจะไปเรียนต่อระดับปริญญาตรี ที่ประเทศเทศเยอรมัน ทำให้รู้สึกชื่นชม ที่น้อง ๆ ใฝ่หาความรู้ รวมทั้งการไม่ได้นิ่งนอนใจว่า เรื่องค่าใช้จ่ายจะต้องเป็นหน้าที่ของพ่อแม่เสมอไปในการส่งเสียเล่าเรียน แต่ส่วนใหญ่แล้วเท่ที่ทราบมา การขอทุนของระดับปริญญาตรีที่ประเทศเยอรมนีจะไม่มีทุนให้นักศึกษาต่างชาติ เพราะที่นั่นเป็นระบบให้นักศึกษาของเขาได้เรียนฟรีอยู่แล้ว แม้จะเป็นคนต่างชาติไปเรียน เขาก็ไม่ได้เก็บตังค์ ส่วนค่าใช่จ่ายส่วนตัวในเรื่องของ อาหาร ที่พัก สำหรับคนเยอรมันเองทางรัฐบาลจะมีค่าใช้จ่ายบางส่วนสนับสนุนให้กับนักศึกษาของประเทศเขาอยู่แล้ว
สำหรับบางคณะและบางมหาวิทยาลัย อาจจะรับนักศึกษาที่ผ่านการสัมภาษณ์จากเมืองไทย เพราะเกรดก็เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งมันเป็นการสะท้อนพฤติกรรมของผู้เรียนว่า มีความตั้งใจเรียนขนาดไหน นอกจากเรื่องเกรดแล้วการทำกิจกรรมนอกหลักสูตรก็มีส่วนร่วมเช่นกัน อย่างการทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ เข้าชมรมโน่นนี่นั่น ออกค่ายอาสา เป็นประธาน เลขา หรือเป็นหัวหน้า ฯลฯ ซึ่งข้อนี้เหมือนจะเป็นการวัดทางจิตวิทยาว่า หากคุณไปเรียน คงไม่ไปเรียนอย่างเดียว เพราะอาจจะต้องหาเพื่อน ศึกษาวัฒนธรรม เรียนรู้ชีวิต เพื่อที่จะได้ไม่ทำให้เกิดอาการคิดถึงบ้านจนอาจเกิดปัญหาเรียนไม่จบกลางคันก็ได้ นอกจากนี้วิชาชีพบางอย่างหากคุณมีโปรไฟล์สวยๆ ก็อาจมีส่วนช่วยได้เยอะ อย่างการเรียนถ่ายภาพ ที่คุณอาจจะต้องมีผลงาน ด้านการถ่ายภาพ หรือมีเว็บไซต์สำหรับโชว์ผลงาน หากเป็นนักดนตรีต้องเคยร่วมแสดงดนตรีบนเวทีไหนบ้าง หรือหากวาดรูปสวยแล้วเคยผ่านการประกวดระดับเขต ประเทศอะไรมาบ้าง ซึ่งโปรไฟล์ดีอาจทำให้คุณมีลักษณะโดดเด่นเข้าตากว่าคนอื่นบ้าง
การเตรียมตัวก่อนเรียนปริญญาตรีที่เยอรมัน
สำหรับใครที่จะไปเรียนปริญญาตรี ที่เยอรมนี ต้องไปเทคคอร์สภาษาเยอรมันอย่างน้อย 1 ปีก่อน แล้วสอบวัดภาษา เยอรมันว่าผ่านหรือไม่?? เพราะหากสอบไม่ผ่านก็ต้องสอบใหม่จนผ่าน หรือหากเข้าไปเรียนแล้ว เทอมแรกก็ต้องสอบให้ผ่าน สำหรับใครที่เลือกเรียนในคณะที่เข้ายาก ๆ อย่าง แพทย์ หรือวิศวะ อาจจะต้องมีการสัมภาษณ์และทดสอบก่อนโดยเฉพาะคณะแพทย์ศาสตร์ นักศึกษาต่างชาติส่วนใหญ่จะบอกว่าเป็นการทดสอบค่อนข้างยากเพราะอุปสรรคส่วนมากที่นักเรียนต่างชาติหนักใจก็คือการใช้ภาษาเยอรมันให้ถูกต้องเป็นหลัก ซึ่งการเรียนแพทย์เป็นการเรียนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของคนฉะนั้นจะพลาดไม่ได้กับการสื่อสาร
และแม้จะเรียนจบก็ไม่สามารถไปประกอบอาชีพได้ เพราะจะต้องสอบใบประกอบโรคศิลป์ให้ผ่านก่อนจึงจะได้ใบรับรองหรือใบจบด้วยหากบางคณะมีสอนภาษาอังกฤษ ก็ต้องมีคะแนนภาษาอังกฤษตามระดับที่กำหนด เพราะคนที่ได้เข้าไปเรียนแต่ละคน จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันแบบคิดไม่ถึง เพราะอาจเป็นค่าใช้จ่ายแฝงที่เหมือนค่าเทอมถูกแสนถูกก็จริง แต่ไม่ได้คลุมไว้ทั้งหมด เพราะทางรัฐอาจจะต้องสนับสนุนแค่ในเรื่องค่าสถานที่วัสดุอุปกรณ์ สารเคมี โปรเฟสเซอร์ ซึ่งความจริงนั้นหากได้ภาษาเยอรมันระดับกลางๆ แม้จะไม่ได้ถึงระดับสุดยอดมาเหมือนกับเจ้าของภาษา หากแต่อ่านออก พูดเขียนได้ในระดับหนึ่ง คุณก็อาจจะได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยได้แบบชิลๆ ซึ่งอาจจะไม่ได้เรื่องมากมายอะไร แต่มันจะไปลุ้นตอนเรียน ตอนสอบว่าคุณเข้าใจมากแค่ไหน
การขอทุนเรียนต่อระดับปริญญาตรี
สำหรับนักศึกษาต่างชาติในส่วนของค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทางรัฐบาลเยอรมันคิดว่า เป็นความรับผิดชอบของคนที่จะมาเรียนเอง ทำให้ทางรัฐไม่มีนโยบายสนับสนุนหรือไม่มีทุนพวกค่ากินค่าอยู่อะไรให้กับนักศึกษาต่างชาติ เพราะถือว่าระบบการศึก ษาขั้นพื้นฐาน จะต้องเป็นหน้าที่ของรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ จึงเป็นเรื่องแก้ไขข้อสงสัยได้ว่าเหตุใด?? ทาง DAAD จึงไม่ได้ให้ทุนปริญญาตรี ส่วนทุนอื่นๆในรั้วมหาวิทยาลัยอย่างทุนเรียนดี หรือทุนช่วยเหลือ ในมหาวิทยาลัยบาแห่งอาจจะมีบ้างแต่ก็ไม่มากจนคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด
หากไม่ได้เป็นนักเรียนทุน หรือไม่ได้เรียนที่เยอรมันก็ไม่เป็นไร เพราะยังมีประเทศอื่นที่มีคณะที่น่าสนใจเช่นกัน เพราะถ้าคุณเก่งจริงๆ ก็ลองมองหาสถานศึกษาอีกแหลายที่เอาไว้สำหรับความผิดพลาด ซึ่งหากไม่ได้ทุนในเรื่องการเรียน แต่สามารถเข้าไปเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย ได้เรียนภาษาเยอรมันเพิ่มเติม ได้ทำในบางส่วนที่รัก เชื่อว่าเมื่อเข้าไปเรียนแล้วอาจจะมีแนวทางในการหาทุน อย่างการทำงานในมหาวิทยาลัยก็ได้เช่นกัน ยิ่งใครที่เป๊ะภาษาเยอรมันดี ๆ หรือเรียนเก่งมากๆ อาจารย์อาจหาทุนของมหาวิทยาลัยให้ หรือให้ทำงานในห้องแลป ทำงานเป็นคนติดต่อประสานงานกับกลุ่มนักศึกษาต่างชาติ เพื่อให้ได้เงินพอค่าครองชีพ หรือค่าเทอมในราคาไม่แพง แถมยังได้เงินใช้จ่ายในส่วนต่าง ๆ ได้อีก