สิ่งท้าทาย
band score ของคุณในข้อสอบ Writing ขึ้นอยู่กับขอบเขตคำศัพท์ที่คุณใช้ว่ามากน้อยเพียงใด แบ่งแยกตามคะแนนดังนี้:
- Band 6: ขอบเขตคำศัพท์ที่พอเหมาะ
- Band 7: ขอบเขตคำศัพท์ที่พอเพียง
- Bands 8-9: ขอบเขตคำศัพท์ที่กว้างขวาง
คุณเพียงต้องเขียน 150 คำเท่านั้นในส่วนที่ 1 และ 250 คำในส่วนที่ 2 ดังนั้นมันสำคัญมากที่คุณจะไม่ใช้คำฟุ่มเฟือยและทำให้ทุกคำได้คะแนนอย่างแน่นอน
การแก้ปัญหา
แน่นอนที่สุดขั้นแรกคือเพิ่มคำศัพท์ให้มากขึ้น แต่ไม่ใช้แค่การเพิ่มคำศัพท์เท่านั้นแต่คุณจะต้องไม่ใช้คำฟุ่มเฟือยในการเขียนด้วยเช่นกัน นักเขียนนิยายและสไตลิสต์ชาวอังกฤษ George Orwell ได้เขียนกฎเหล็กหกข้อในการเขียนบทความให้มีประสิทธิภาพ ชื่อว่า Politics and English Language ในปี 1946 กฎข้อที่สามคือ “ถ้าเป็นไปได้ที่จะตัดคำ ก็จงตัดซะ”
การตัดคำทิ้งเป็นเรื่องง่ายมาก ดูที่ประโยคตัวอย่างด้านล่าง และแทนที่ด้วยคำๆเดียว จากนั้นเลื่อนลงไปดูเฉลย
- at this moment in time
- in spite of the fact that
- smaller in size
- red in colour
- few in number
- in the event that
- is allowed to
- last but not least
- with the exception of
- at all times
คุณลองคิดถึงกฎของ Orwell ดูสิ-13 คำ- มันเป็นการใช้คำฟุ่มเฟือยมากจนเกินไป และยังขัดแย้งในตัวเองอีกด้วย คุณสามารถลดคำให้เหลือแค่สามคำได้มั้ย
ขั้นตอนต่อไป
เมื่อคุณทำแบบฝึกหัดด้านบนและตรวจคำตอบเสร็จแล้ว กลับไปยังบทความที่คุณเขียนไว้ล่าสุด ดูในแต่ละประโยคและดูสิว่ามีกี่คำที่คุณสามารถเอาออกไปได้ในขณะที่ยังคงความหมายเดิมอยู่ คุณอาจต้องเขียนประโยคขึ้นมาใหม่หรืออาจแค่ลบคำนั้นออกไปได้อย่างง่ายดาย จากนั้นอ่านบทความใหม่อีกครั้งและดูสิว่ารูปแบบการเขียนของคุณดีขึ้นหรือไม่
เฉลย now; although; smaller; red; few; if; can; finally; except; always; จำกัดคำที่ไม่จำเป็นออก
สี่เคล็ดลับการเขียนให้ได้คะแนนสูง
ไม่ว่าคุณจะสอบ IELTS เพื่อใช้ในการเรียนต่อปริญญาหรือการเรียนต่อมัธยมและเพื่อย้ายถิ่นฐานก็ตาม คุณจะต้องเขียนบทความให้ได้ 250 คำในส่วนของการเขียนส่วนที่ 2
คุณจะเขียนได้ดีขึ้นมากหากคุณเช้าใจว่ากรรมกรให้คะแนนเน้นในเรื่องอะไร
ช่วงแรก ลองมาดูหลักเกณฑ์การให้คะแนนของ IELTS กัน:
- Task achievement นี่หมายความว่าคุณควรตอบคำถามให้ครบทุกส่วน ต้องตอบให้ตรงคำถาม และควรยกตัวอย่างประกอบเพื่อสนับสนุนความคิดของคุณด้วย
- Coherence and cohesion. การเขียนของคุณต้องมีการเรียบเรียงที่ดีเพื่อให้อ่านและเข้าใจง่าย นั่นหมายความว่าคุณต้องจัดลำดับความคิดของคุณลงในบทความแต่ละย่อหน้า ต้องใช้คำเชื่อมต่างๆด้วยเช่นกัน อาทิเช่น however, therefore และ despite
- Lexical resource. เพื่อให้ได้คะแนนสูง คุณต้องใช้คำศัพท์ให้เยอะ ไม่ใช้ว่าต้องถูกต้องเต็มร้อยแต่ต้องมีข้อผิดพลาดให้น้อยที่สุดและไม่กระทบต่อความเข้าใจด้วย
- Grammatical range and accuracy. เช่นเดียวกับคำศัพท์คุณต้องใช้หลักไวยกรณ์ให้หลากหลายด้วยเช่นกัน และให้ข้อผิดพลาดทางไวยกรณ์เกิดขึ้นน้อยที่สุดและไม่กระทบต่อความเข้าใจด้วย
เอาหล่ะตอนนี้เราลองมาดูว่าจะสามารถน้ำหลักเกณฑ์เหล่านั้นมาใช้กับบทความของผู้สอบได้อย่างไร
อ่านบทความด้านล่างนี้ ในขณะที่คุณอ่านให้คิดถึงหลักเกณฑ์ทั้งสี่ข้อและตัดสินว่าผู้เขียนทำได้ดีมากแค่ไหนในแต่ละหลักเกณฑ์ จดไว้ด้วย (คลิ๊กที่รูป เพื่อขยายขนาดและเพิ่มความชัด)
เมื่อคุณจดโน้ตไว้แล้ว เปรียบเทียบโน๊ตของคุณกับอาจารย์
ตอนนี้คุณรู้แล้วว่ากรรมการให้คะแนนเน้นเรื่องอะไร คุณต้องพยายามฝึกฝนด้วยตัวคุณเอง นำบทความที่คุณเขียนมาและตรวจดูบทความนั้นสี่ครั้ง แต่ละครั้งเน้นเรื่องหลักเกณฑ์ โน้ตที่คุณจดจะทำให้คุณรู้จุดอ่อนจุดแข็งว่าตรงไหนทำได้ดีแล้วและตรงไหนยังต้องปรับปรุง
Credit : http://blog.ieltspractice.com/