7 ข้อสงสัยของคนสอบ Reading

คุณอาจเคยได้อ่านหนึ่งในโพสต์ของเรา ที่เกี่ยวกับเก้าคำถามที่พบได้บ่อยสุดสำหรับข้อสอบ Reading ในบทความนี้ก็เช่นกันผมจะพูดถึงคำถามยอดฮิตจากผู้เข้าสอบที่ถามเรามาเกี่ยวกับข้อสอบ Reading

IELTS Tips

  1. สมมุติว่าผมไม่รู้ชื่อเรื่องของบทความหล่ะ

หัวข้อบทความของข้อสอบ IELTS เป็นเรื่องทั่วไปและคัดมาจากหนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ บทความ และอื่นๆอีกมากมาย มันจะไม่มีอะไรยากเกินไปหรือคำศัพท์เฉพาะที่จะทำให้คนที่เรียนทำในสิ่งที่จะเกินความสามารถ สิ่งที่ต้องทำคือการใช้เวลาอ่านบทความประเภทที่ชอบออกบ่อยๆในข้อสอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณไม่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมตะวันตก

  1. มีคำถามทั้งหมดกี่ประเภท

คำตอบคือมีคำถามทุกประเภทอยู่ในข้อสอบ ไม่ว่าจะเป็นข้อสอบตัวเลือก ตอบคำถามแบบสั้น เติมประโยคให้สมบูรณ์ เติมตาราง yes/no/not given การแยกประเภท และอื่นๆอีกมากมาย ถ้าคุณกำลังสับสนงงงวยอยู่หล่ะก็คุณจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำสั่งทั้งหลากหลายประเภทนี้ด่วนเลย คำสั่งบางประเภทยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภท yes/no/not given เพราะฉะนั้นถ้าคุณไม่เข้าใจคำสั่งเหล่านี้ก่อนที่คุณจะสอบก็มีโอกาสสูงที่คุณจะทำข้อสอบได้ไม่ดีเลย

  1. ฉันควรเริ่มจากการอ่านบทความคร่าวๆก่อนเลยมั้ย

การอ่านบทความคร่าวๆและสกิลในการสแกนหาคีเวิร์ดเป็นเรื่องสำคัญในข้อสอบ Reading สิ่งหนึ่งที่จะต้องทำเสมอคือคำถามนั้นทำความเข้าใจได้ง่ายกว่าตัวบทความ การมองไปที่คำถามอย่างรวดเร็ว (ไม่ควรเกิน 45 วินาที) คุณสามารถได้ไอเดียบางอย่าง ในสิ่งที่คุณกำลังหาในบทความซึ่งจะช่วยคุณประหยัดเวลาได้มากเลยทีเดียว

  1. ฉันมีเวลาพิเศษในการย้ายคำตอบมาลงในกระดาษคำตอบในช่วงท้ายหรือไม่

ไม่มี ในข้อสอบ Listening คุณจะมีเวลาในช่วงท้ายเพื่อเอาคำตอบที่โน๊ตไว้มาจดลงในกระดาษคำตอบ แต่ไม่ใช่ในข้อสอบ Reading เพราะคุณต้องเขียนคำตอบทั้งหมดลงในกระดาษคำตอบทันที ดังนั้นตรงจุดนี้จึงเป็นข้อที่ต้องระวังอย่างมาก

  1. ฉันควรใช้เวลาในการทำข้อสอบแต่ละช่วงเท่าๆกันหรือไม่

หากคุณคาดหวังที่จะได้แบนด์สกอร์สูง (มากกว่า 7) แล้วหล่ะก็ มันเป็นเรื่องที่ผิดพลาดอย่างยิ่งหากคุณจะใช้เวลาทำข้อสอบในช่วงที่ 1 และ 3 ในเวลาเท่าๆกัน ในช่วงท้ายของข้อสอบจะมีความยากมากกว่าและคุณต้องใช้สมาธิจดจ่อกับรายละเอียดมากกว่าในข้อสอบช่วงแรก ฉะนั้นหากคุณอยากได้คะแนนสูงคุณจะต้องพกความมั่นใจไปมากพอ ที่ผ่านข้อสอบในช่วงแรกในเวลาอันรวดเร็ว ตัดสินจากประสบการณ์ตรงของผมนั่นคือ คุณควรใช้เวลามากสุด 8-10 นาทีในการตอบคำถามช่วงแรก

6.ฉันจะได้คะแนนมากขึ้นหรือไม่ในข้อสอบช่วงที่ 3  

ไม่  มีคำถามทั้งหมด 40 ข้อ และแต่ละข้อมีหนึ่งคะแนน ไม่ว่าคำถามนั้นจะอยู่ในช่วงไหนก็ตาม

  1. หากฉันตอบผิด จะเสียคะแนนหรือไม่

ไม่เช่นกัน คะแนนจะไม่มีการติดลบ คุณแค่ไม่ได้คะแนนนั้น นี่หมายความว่าหากคุณไม่แน่ใจในคำตอบ มันไม่มีอะไรต้องเสียหากคุณจะเดา ใครรู้ คุณอาจตอบถูกก็ได้ 

ทักษะในการทำข้อสอบจะนำท่านสู่ความสำเร็จ

เวลาผมมีคลาส IELTS สิ่งแรกที่ผมต้องการแนะนำกับนักเรียนคือทักษะการทำข้อสอบ ฉะนั้นผมจะทดสอบผู้เรียนให้อ่านและลองทำข้อสอบ Reading บางส่วนก่อน เกือบทุกครั้งที่ผู้เรียนโฟกัสไปที่บทความและอ่านบทความนั้นทีละคำตั้งแต่ต้นจนจบ และเห็นเสมอว่านักเรียนบางคนกังวลตื่นกลัวกับคำศัพท์ที่ไม่รู้ ในขณะเดียวกันเวลาแต่ละนาทีเดินต่อไปและไม่มีใครจดโน๊ตอะไรเลย

ในส่วนข้อสอบ Reading เวลามีค่าดั่งทอง โพสท์นี้จะเน้นสามยุทธวิธีหลักที่จะช่วยให้คุณประหยัดเวลาและเพิ่มคะแนนได้อย่างน่าพอใจ

  1. โฟกัสเน้นที่คำถาม

เป็นสิ่งจำเป็นมาก ที่คุณจะเห็นความสำคัญของคำถามมาเป็นอันดับแรกก่อนการอ่านบทความ การเริ่มจากการอ่านคำถามจะทำให้คุณรู้ว่าคำตอบอะไรที่คุณต้องการมองหาเมื่อกลับไปอ่านที่บทความ เมื่อคุณพบคำตอบนั้นแล้ว จดไว้ในทันที วิธีนี้คุณใช้เวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด อีกวิธีหนึ่งคืออ่านบทความก่อนและจากนั้นอ่านคำถาม จากนั้นกลับไปที่บทความเพื่อมองหาคำตอบที่คุณต้องการ แต่การทำแบบนี้ถือว่าไม่เข้าท่าเท่าไหร่หากเวลามีจำกัด

  1. อย่ากังวลหากไม่รู้คำศัพท์

เอาหล่ะ คุณกำลังทำข้อสอบและทำได้ดีด้วย ทันใดนั้นเองอยู่ๆคุณก็เห็นคำคำหนึ่งที่คุณไม่รู้ความหมายและคุณเริ่มตกใจกลัว ใจเย็นก่อนสิ เคล็ดลับของเราคือการทำใจให้สบายอย่ากังวลและอย่าปล่อยให้คำที่เราไม่รู้ความหมายนั้นมารบกวนสมาธิเราได้ จำไว้ว่าแม้แต่เจ้าของภาษาเองบางครั้งยังไม่รู้คำศัพท์นั้นเลย ตราบใดก็ตามที่มันไม่มีเยอะเกินไปจนกระทั้งทำให้คุณไม่เข้าใจบทความนั้น ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นคุณกำลังทำข้อสอบอยู่ อย่าเสียเวลากับการมองหาความหมายของคำศัพท์เลย

ยุทธวิธีแรกที่ควรทำคืออย่าไปสนใจคำศัพท์นั้น ยังงัยคุณก็เข้าใจบทความอยู่ดี ให้คิดง่ายๆด้วยประโยคแบบนี้ (คำที่ไม่รู้แสดงออกมาในรูป XXX)

Among the animals threatened by climate change are elephants, XXX and polar bears.

ยุทธวิธีที่สองคือการคาดเดาความหมายจากคำที่อยู่ใกล้เคียง ฉะนั้นในประโยคตัวอย่างข้างต้น เดาง่ายๆเลยว่า XXX คือสัตว์ประเภทหนึ่ง หากคุณต้องบอกชื่อสัตว์ทั้งสามประเภทที่ถูกคุมคามด้วยภัยธรรมชาติแล้วหล่ะก็ มันฟังดูสมเหตุสมผลหากต้องรวมเอา XXX ไว้ด้วยถึงแม้คุณไม่รู้ความหมายของคำนั้นก็ตาม

3.จงทำต่อไป!

หากไม่มียุทธวิธีใดได้ผลและคุณยังไม่รู้จะทำอย่างไร แค่ทำข้อสอบต่อไปและกลับมายังคำถามเดิมหากเวลาเหลือ จะเสียเวลากับคำตอบที่คุณไม่รู้ทำไมสู้ไปทำข้อที่คุณรู้คำตอบดีกว่า จริงไหม!?

Credit : blog.ieltspractice.com