ผู้สอบหลายท่านคิดว่าข้อสอบ yes/no/not given เป็นส่วนที่ยากที่สุดในข้อสอบ Reading ความจริงแล้วปัญหาใหญ่ของเราคือตัวเลือก “not given” ผู้สอบส่วนใหญ่ไม่ชินกับตัวเลือกนี้ทำให้เกิดความสับสนเป็นอย่างมาก และใช้เวลานานเพื่อให้แน่ใจว่าข้อนั้นตอบ “not given” จริงหรือไม่ มันยิ่งทำให้มีผลกระทบกับข้อสอบที่เหลืออีกด้วย
เอาจริงๆแล้ว ตัวเลือก yes/no/not given นั้นหมายความอย่างไรกันแน่
• ถูก หมายถึงว่าประโยคนั้นมีความสอดคล้องหรือยืนยันข้อมูลอย่างชัดเจนในบทความ
• ผิด หมายความว่าประโยคนั้นขัดแย้งหรือตรงกันข้ามกับข้อมูลในบทความ
• not given หมายความว่าไม่มีข้อมูลใดๆเลยหรือไม่มีทางรู้ได้เลย
ลองฝึกทำข้อสอบ yes/no/not given นี่เป็นประโยคตัวอย่าง ก่อนอื่นอ่านบทความก่อน จากนั้นตอบคำถามสามคำถามที่อยู่ด้านล่าง (คลิ๊กที่รูป ภาพจะชัดขึั้น)
1. Children under 12 cannot leave the camp without an adult.
a. True
b. False
c. Not Given
2. Children aged 11 go to bed at 9.30 on Friday evenings.
a. True
b. False
c. Not Given
3. Only parents are allowed to visit.
a. True
b. False
c. Not Given
มาตรวจคำตอบกัน ถ้าคุณเลือกคำตอบได้แล้ว มาดูกันสิว่าคุณตอบถูกหรือไม่
คำตอบข้อที่ 1 คือ ถูก เพราะถูกกล่าวถึงในบทความอย่างชัดเจนว่า “เด็กอายุต่ำกว่า 12 ต้องไม่ออกจากแคมป์หากไม่มีผู้ใหญ่ไปด้วย” คำตอบข้อที่ 2 คือ ผิด เพราะใบบทความกล่าวไว้ว่า “เวลาเข้านอนของเด็กต่ำกว่า 12 คือ 10.30” และ “ทุกวันศุกร์และเสาร์เวลานอนเลื่อนออกไปอีกหนึ่งชั่วโมง” คำตอบข้อ 3 คือ not given เนื่องจากไม่มีข้อมูลแบบนั้นกล่าวถึงในบทความเลย บทความบอกว่า “ผู้เยี่ยม” และไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นผู้เยี่ยมแบบไหน
บทเรียนที่เราได้เรียนรู้ สรุปแล้ว ต้องใช้ยุทธวิธีอะไรบ้างเพื่อตอบคำถามเหล่านี้
• อ่านคำสั่งและบทความทั้งหมดอย่างระมัดระวัง พยายามทำความเข้าใจความหมายทั้งหมดของบทความและอย่าโฟกัสเฉพาะตัวคีเวิร์ดเท่านั้น พยายามเชื่อมต่อองค์ประกอบของความรู้ในแต่ละประโยคเข้าด้วยกัน
• ตรวจหาคำไหนก็ได้ที่บ่งบอกถึงบทความนั้น อาทิเช่น some, all, mainly, often, always occasionally คำเหล่านี้เป็นตัวทดสอบว่าคุณได้อ่านบทความทั้งหมดหรือไม่เพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงความหมาย
• หัวข้อการอ่านนี้จัดเป็นหัวข้อที่ค่อนข้างยาก อย่าอ่านผ่านๆและสแกนข้อความเพื่อหาคำตอบ คุณจะต้องอ่านส่วนที่เหมาะสมของบทความอย่างถี่ถ้วนเพื่อให้เข้าใจว่าผู้เขียนสื่อถึงอะไร
• พยายามคิดถึงคำที่มีความหมายเหมือนกัน นี่จะช่วยให้คุณวิเคราะห์หาส่วนที่ตรงกันกับบทความได้
• คำตอบจะถูกเรียงกันเป็นลำดับในบทความ นี่หมายความว่าคำตอบของคำถามที่หนึ่งมาก่อนคำตอบของคำถามที่สอง และคำตอบข้อหรือสองข้อสุดท้ายอยู่ใกล้กับส่วนท้ายของบทความ
• อย่าใช้เวลามากเกินไปเพื่อหาคำตอบเพียงข้อเดียว หากคุณนึกไม่ออกว่าคำตอบคืออะไร ให้ใส่ “Not Given” ไปก่อน มันก็เป็นไปได้ที่คุณไม่รู้เพราะคำตอบไม่ได้อยู่ในนั้น
• และท้ายที่สุด อย่าทึกทักเอาเองโดยอ้างอิงจากความรู้และประสบการณ์ของคุณ อ่านบทความและหาคำตอบจากบทความนั้น
• อย่าคิดเยอะเกินไป คุณอาจใช้หลักการและเหตุผลอันยืดยาวที่อาจทำให้คุณตอบผิดก็เป็นได้
Credit : blog.ieltspractice.com/