วิธีการพัฒนาทักษะการฟังในภาษาอังกฤษ
ได้ยินนักเรียนหลายคนบ่นว่า ฟังฝรั่งไม่รู้เรื่องเลยค่ะ พูดเร็วมาก ไม่คุ้นสำเนียงเลยค่ะ ฟังไม่ออก ไม่คุ้นหู ไม่ชิน (ทั้งสำเนียงอเมริกัน/อังกฤษ หรือ แขก และ เอเชีย) จะทำยังไงดีคะเนี่ย ซึ่งก็จะคำแนะนำอยู่สองสามข้อ และจะสอนทิปคุณบางอย่างเพื่อ พัฒนาทักษะการฟังนะคะ วิธีต่างๆที่คุณได้เรียนเรื่องการฟังนั้น คุณอาจจะมีตำรา, หรือซีดี ปัญหาเกี่ยวกับตำราเรียนหรือซีดีนั้นคือภาษานั้นไม่เป็นธรรมชาติ บทสนทนาจะเป็นแบบ
A: Hello! My name is Wanna, what is your name?
B: My name is Mary.
A: Nice to meet you Mary.
ว่ากันง่ายๆเลยก็คือ ลองนึกถึงสภาพความเป็นจริง เวลาเราเจอเพื่อนใหม่ เราจะพูดอย่างไร ถ้าพูดอย่างไม่เป็นธรรมชาติคือ “สวัสดีครับ ผมชื่อธนาวุฒิ คุณชื่ออะไร” ถามจริงเหอะ (ว่ะ) เวลาเจอเพื่อนใหม่เราพูดอย่างงี้เหรอ คำตอบคือไม่ใช่ อาจจะเป็นว่า เฮ้ย เมิงชื่อไรฟระ? น่าน…. ดังนั้นตำราเรียนภาษาอังกฤษนั้น จึงไม่ใคร่เป็นธรรมชาตินักและมันไม่ค่อยสอนคำหรือ วลีที่ปกติเราพูดกันในภาษาอังกฤษทุกๆวันนี้ ดังนั้นวิธีที่จะพัฒนาการฟังคือ
1. Watch Movies
2. Listen to Music
3. Go Out
ข้อแรกคือ การชมภาพยนตร์ ข้อดีจริงๆของการชมภาพยนตร์คือ บางทีคุณอาจจะชอบหนังเรื่องนั้น และมันสนุก ดังนั้นก็อย่ากลัวที่จะรับชมภาพยนตร์แล้วบอกคนอื่นๆว่า คุณเรียนภาษาอังกฤษ (จากการชมภาพยนตร์ ) คำแนะนำเพิ่มเติมก็คือ เมื่อคุณรับชมภาพยนตร์ก็คือให้ชมด้วยซับไตเติลในภาษาของคุณค่ะ(ให้ดูซับไทย) เมื่อคุณชม”ครั้งเริ่มแรก” คุณสามารถชมด้วยซับไตเติ้ลในภาษาของคุณแล้ว เมื่อคุณเข้าใจภาพยนตร์แล้ว คุณรู้เรื่องว่าเกิดอะไรขึ้น คุณก็สามารถเปลี่ยนเป็น ซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษค่ะ
ดังนั้นคุณก็จะได้เห็นว่าคนในภาพยนตร์เค้าพูดอะไรจริงๆ ดังนั้นคุณ ก็สามารถเรียนวิธีการสร้างคำ, การออกเสียง ของเค้า และนอกจากนั้น คุณยังได้เรียนรู้คำศัพท์ และแสลงค่ะ คำศัพท์แสลงเป็นจำนวนมากเลยค่ะ เพียงสิ่งเดียวที่ไม่ดีเกี่ยวกับภาพยนตร์ ก็คือ มันยาวมาก นักเรียนบางคนอาจเบื่อได้ ภาพยนตร์ยาวประมาณหนึ่งชั่วโมง ถึงหนึ่งชั่วโมงครึ่ง สิ่งที่ดีกว่าที่จะทำเมื่อคุณเรียนภาษาอังกฤษเรื่องการฟัง ก็คือการดูทีวีค่ะ รายการโทรทัศน์ปกติแล้ว มีความยาว 20 นาที และคุณก็สามารถหามารับชมได้จากทั่วโลก ถ้าคุณต้องการฟังภาษาอังกฤษสำเนียงบริติช หรืออเมริกันอิงลิช คุณสามารถเลือกรายการโทรทัศน์จากอังกฤษหรือจากอเมริกา และเราก็มีรายการโทรทัศน์จากคานาดาด้วย รายการโทรทัศน์นั้นน่าจะดีกว่าภาพยนตร์เพราะว่ามันสั้นกว่า ยิ่งคุณนั่งหน้าจอโทรทัศน์หรือจอภาพยนตร์นานเท่าไหร่ และได้ฝึกแปลภาษา สมองคุณจะเริ่มเหนื่อยมากขึ้นเท่านั้น แล้วคุณก็จะยอมแพ้ เลิกทำ เพราะมันเยอะไป เหมือนการบ้าน ดังนั้น 20 นาที ดูรายการโทรทัศน์ ครั้งแรกเปิดซับภาษาที่คุณใช้(ซับไทย) แล้วครั้งต่อมาเปิดซับภาษาอังกฤษ ก็จะช่วยคุณพัฒนาทักษะการฟัง เมื่อคุณทำอย่างนี้ได้สองสามครั้ง คุณจะอยากชมมันเรื่อยๆ แล้วคุณสามารถปิดซับไตเติ้ล แล้วก็”ฟัง”ว่าเค้าพูดอะไร จะเตือนนักเรียนนะคะ ว่าเค้าพูดเร็วมากๆ ดังนั้นคุณต้องใช้ซับไตเติ้ลก่อน ก็จะช่วยคุณได้มากทีเดียวค่ะ
ข้อต่อมา เป็นข้อหนึ่งที่หลายคนชอบนะคะ คือดนตรี ทุกคนรักดนตรีค่ะ ใช่มั๊ยคะ? เมื่อคุณฟังดนตรี คุณต้องเข้าใจว่าดนตรีนั้นไม่ใช่หลักไวยากรณ์ (grammar) ดนตรีนั้นเขียนผิดแกรมม่าค่ะ เป็นแกรมม่าที่แบบผิดชัวร์, ภาษาวิบัติเลยค่ะ แกรมม่าแย่มาก เค้าพูดอะไรอย่าง I ain’t got know you bebe! ซึ่งนั่นไม่ใช่แกรมม่าน่ะค่ะ ดังนั้นกรุณาอย่าตามแกรมม่าในเพลง อย่าคิดว่าคุณจะเรียนแกรมม่าจากเพลงนะคะ แต่ที่คุณสามารถทำได้ คือคุณสามารถดู lyrics ปกติแล้วคือ the words to the song ดังนั้นเมื่อคุณมีซีดีหรือเอ็มพีทรี หรืออะไรก็ตามที่ใช้บันทึกเพลงได้ ให้ดูในอินเตอเนตดู lyrics เนื้อเพลงของเพลงแล้วปรินท์ออกมา แล้วดูเนื้อแล้วฟังจากเพลง แล้วฟังคำ (เวลาเค้าออกเสียง) นั่นจะช่วยคุณเรื่องการฟัง
ข้อสุดท้าย แปลว่า ออกไปข้างนอก มีนักเรียนหลายคนที่อุตส่าห์ข้ามน้ำข้ามทะเลไปเรียนต่างประเทศ แต่ก็ยังมีปัญหากับการฟัง สิ่งสุดท้ายที่คุณสามารถทำได้เพื่อพัฒนาทักษะการฟังของคุณ คือ Go Out ค่ะ อย่าอยู่บ้านค่ะ ถ้าคุณอยู่ในประเทศที่ผู้คนไม่พูดภาษาอังกฤษ คุณจะไม่สามารถฟังภาษาอังกฤษได้จากนอกบ้านนัก แต่ถ้าคุณมาที่คานาดาหรือ ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก และคุณยังคงเรียนรู้ภาษาอยู่ กรุณาอย่าเพียงแต่อยู่บ้านแล้วดูโทรทัศน์ ออกไปข้างนอกค่ะ ไปห้าง, ไปร้านค้า, ฟังเวลาคนอื่นเค้าสนทนากัน, ไปเดินในสวน, เดินตามผู้คนแล้วหลบหลังต้นไม้ (ไม่ใช่โจรนะ) มันสำคัญมากๆ ทักษะการฟังสำคัญมากๆเท่าๆกับประสาทสัมผัสต่างๆ เมื่อคุณอยู่ในโลก ในสิ่งแวดล้อมที่ผู้คนรอบๆตัวคุณนั้นล้วนพูดภาษาอังกฤษกัน คุณจะเริ่มค่อยๆรู้เรื่องขึ้น และนั่นจะง่ายขึ้นสำหรับคุณในการที่จะเรียนรู้เพราะว่ามันอยู่รอบตัวคุณเสมอ สำหรับ การจะประสบความสำเร็จในส่วนของ listening ซึ่งจะเป็น part เดียวที่เรามีโอกาส ทำได้ครบ และได้คะแนนสูงหากฟังออก โอกาสที่จะได้คะแนนจึงมีมากกว่า part reading
Trick เพิ่มเติม
- เวลาฝึกฟัง ห้ามใช้หูฟังเด็ดขาด เพราะเวลาอยู่ในห้องสอบต้องฟังจากลำโพง ต้องฝึกให้ชินไว้
- ข้อสอบ 1 ชุด ฟังอย่างน้อย 3 รอบ โดยรอบแรก ฟัง และทำข้อสอบตาม จดบันทึกคะแนนที่ได้ เพื่อเก็บเป็นสถิติไว้ รอบสอง ฟัง และอ่านสคริปตาม เพื่อดูว่า แต่ละประโยค คำแต่ละคำเค้าออกเสียงยังไง รอบสาม ฟัง แบบไม่ดูสคริป แล้วเปิดสคริปตามทีละประโยค เพื่อดูว่า ที่เราฟังออก กับสคริปจริง มันตรงกันมั้ย
แล้วในช่วงที่ทำข้อสอบ เมื่อได้ข้อสอบมาปุ๊ป พยายามอ่านตัวเลือกก่อนเลย ตัวชอยส์จะบอกว่า เรื่องที่จะพูดเกี่ยวกับอะไร ในชอยส์หนึ่งข้อ จะมีความแตกต่างของเรื่องที่จะพูดอยู่พอสมควร เรียกง่ายๆ ว่าชอยส์นั้นเป็นคำตอบของคำถามคนละเรื่อง เมื่อได้ฟังตอนเทปเปิดแล้ว พยายามหาคีย์เวริ์ดของการฟังข้อนั้นว่าพูดเกี่ยวกับเรื่องอะไรและเลือกชอยส์ข้อนั้น จริงๆ แล้วบางครั้งไม่จำเป็นต้องฟังออกทั้งหมด ทุกประโยคหรือทุกคำ เมื่อเลือกแล้ว รีบผ่านไปอ่านชอยส์ของข้อต่อไปทันที โดยใช้วิธีเดียวกับข้างบน อย่ามัวลังเล เพราะจะพลาดการฟังข้อต่อไปได้ง่ายๆ จะทำให้เสียคะแนนในกลุ่มนั้นทั้งหมด กว่าจะตั้งตัวได้ และจะยิ่งทำให้ลนลาน ประหม่าไปหมด
เทคนิคของ Listening สำหรับ TOEIC
part1 รูปภาพ
เราใช้วิธี ตัดข้อผิด คิด เมื่อเค้าอ่านแต่ละ choice แล้ว มันตรงกับรูปภาพมั้ย ถ้าไม่ตรงตัดทิ้งทันที ถ้าตรงแล้วก็เลือกเลย ถ้าไม่แน่ใจก็ลองฟังข้ออื่นก่อน แล้วรอดูว่า ข้อไหนมีน้ำหนักมากกว่ากัน หากตัดสินใจไม่ได้ ก็ทำเท่าที่ทำได้ ห้ามห่วงหน้า พะวงหลัง
part2 Q-response
ถ้าฟังทั้งประโยคไม่ออก ก็ต้องพยายามฟัง Question-word ของโจทย์แต่ละข้อให้ได้ แล้วก็เขียน Question-word ของแต่ละ ข้อลงในกระดาษคำถามเลยกันลืม คือ อย่างน้อยก็ต้องฟัง question word ออกเนี่ย ถ้าเราฟังบริบทอื่นในประโยคไม่ออกเลย อย่างน้อยเราก็ยังพอจะหาคำตอบจาก choice ได้ อย่างเช่น ถ้าถาม ว่า who ก็หาชื่อคน ก็ตอบได้เลย ถ้าถาม where ก็หาชื่อสถานที่ แล้วก็ตอบเลย when ก็เวลา how ก็ดู choice ที่ดูเมื่อเค้าจะอธิบายหน่อยๆ How much How many ก็ดู choice ที่ดูเค้าตอบเป็นจำนวน ไรแบบนี้ ที่ยาก คือ พวก question-tag กับ คำถามที่ขึ้นต้นด้วย V ช่วย อย่างนี้ต้องฟังบริบทด้วยถึงจะตอบได้ ก็ต้องพยายามฟังให้ออก ถ้าไม่ได้ ก็ตัดทิ้งเลยเช่นกัน ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง เช่นเดิม
Part 3-4
ต้องอ่านคำถามทั้ง 3 ข้อ ก่อนที่ โจทย์จะอ่านข้อความให้ได้ทุกครั้ง คือถ้าโจทย์อ่าน คำถามข้อที่ 2 เมื่อไหร่ นั่นหมายความว่า เราต้องไปอ่านคำถามสำหรับเรื่องถัดไปแล้ว ถ้า เรื่องไหนฟังออก ก็น่าจะตอบได้ ทั้ง 3 ข้อ แต่ถ้าฟังไม่ออก ข้อที่เป็นคำถามวิเคราะห์ (พวกที่ถามว่า คนพดทำอาชีพอะไร หรือคุยกันเรื่องอะไร หรือให้ตีความไรแบบนี้) ทำเท่าที่ทำได้ แล้วพยายามทำข้อที่เค้าถามชี้เฉพาะ วัน เวลา สถานที่ แทน แบบถ้าได้ยินคำนั้น ก็เลือกไปเลย อย่างน้อยก็ยังพอมีโอกาสถูก